บริหารจัดการ
ก้าวไกล/อนาคตใหม่
แชร์คำสัญญา
เป็นนโยบายสานต่ออุดมการณ์พรรคอนาคตใหม่ ในการจะผลักดันที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ยุติระบบรัฐราชการรวมศูนย์และกระจายอำนาจ กระจายงาน กระจายเงิน และกระจายคน โดยการจัดการกฎหมายของ คสช. ที่ขัดขวางการกระจายอำนาจ จะสถาปนาหลักการกระจายอำนาจเข้าไปไว้ในรัฐธรรมนูญ ยกเลิกกฎหมายซ้ำซ้อนระหว่างภูมิภาคและท้องถิ่น ยกระดับบางพื้นที่เป็นอปท.รูปแบบพิเศษ แบ่งรายได้ส่วนกลางและท้องถิ่นเป็น 50:50 และจัดการเรื่องการกำกับดูแล เพราะเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 กกต.มีมติ 5 ต่อ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลรธน.สั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ กรณีให้พรรคกู้ยืมเงิน ซึ่งวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ศาลรธน.นัดอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ 2563 คำสั่งศาลรธน.มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากถูกยุบส.ส. คนอื่นๆ ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล ซึ่งพบการคัดค้านกฎหมายที่เป็นการรวมศูนย์อำนาจหรือเพิ่มอำนาจของผู้กำกับดูแลท้องถิ่น คือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น และเมื่อสภาเปิดอภิปรายสรุปวาระงบประมาณรายจ่าย ปี 2566 นายวรภพ วิริยะโรจน์ พรรคก้าวไกลได้อภิปรายให้โอนงบประมาณของกรมทางหลวงชนบท 47,160ล้านบาท ให้ท้องถิ่นแทน เพราะถนนของท้องถิ่นประชาชนใช้เดินทางบ่อยที่สุด พร้อมต้องภารกิจกระจายไปสู่ท้องถิ่นไปพร้อมๆกัน อีกทั้งย้ำเพิ่มว่าสัดส่วนของรายได้ท้องถิ่นต่อรัฐบาลส่วนกลางเป็น 50 : 50
มกราคม 2562 - มีนาคม 2562
หาเสียงประกาศนโยบาย
10 กรกฎาคม 2562
แต่งตั้งรัฐบาล
11 ธันวาคม 2562
กกต.มีมติ 5 ต่อ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลรธน.สั่งยุบพรรคอนาคตใหม่
21 กุมภาพันธ์ 2563
ศาลรธน.นัดอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่
14 มีนาคม 2563
ผลการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล
18 มีนาคม 2563
คำสั่งศาลรธน.มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่
หากนัก/พรรคการเมืองที่ได้เข้าไปเป็น รัฐบาล แล้วไม่ทำตามสัญญา มีกระบวนการตรวจ สอบอย่างไรบ้าง